ส่วนประกอบของรถยนต์ เรื่องคุ้นๆ ที่คุณอาจมองข้ามไป

0
21184
ส่วนประกอบของรถยนต์

ส่วนประกอบของรถยนต์ เรื่องคุ้นๆ ที่คุณอาจมองข้ามไป


อาจมีบางคนที่ขับรถอย่างเดียว โดยไม่สนใจหาความรู้เกี่ยวกับรถยนต์เลย ยิ่งสมัยนี้รถยนต์ขับง่ายขึ้นด้วยระบบเกียร์ออโต้ด้วยแล้ว รู้เท่าที่ทำให้ขับรถได้ก็พอ หรือบางคนขอรู้เฉพาะเรื่องใหญ่ๆ แต่คิดว่ามีอีกหลายคนที่ความจริงก็อยากรู้เรื่องรถยนต์ให้มากขึ้น แต่ยังไม่มีเวลาศึกษาหาความรู้เพิ่ม เพราะแม้แต่เรื่องของส่วนประกอบของรถยนต์นั้น ก็มีเรื่องน่ารู้ตั้งมากมายแล้ว เชื่อว่าสำหรับคนที่ใส่ใจ อย่างน้อยต้องรู้แล้วว่า ส่วนประกอบของรถยนต์มีทั้งส่วนที่เรียกว่าส่วนประกอบภายใน คือ ระบบพวงมาลัย เกียร์รถยนต์ คลัทช์ เบรกรถยนต์ เเอร์รถยนต์ เเละส่วนประกอบภายนอก ซึ่งได้แก่ ตัวถังรถยนต์ เเละยางรถยนต์

ความรู้บางอย่าง เหมือนไม่จำเป็นต้องรู้ละเอียดเลย แต่ทุกท่านคงเคยได้ยินภาษิตไทย “รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม” เพราะฉะนั้น เรามาเพิ่มเติมความรู้กันดีกว่า บางทีความรู้ที่คิดว่า ก็งั้นๆ ในวันนี้ อาจมีประโยชน์และช่วยให้เราแก้ไขปัญหาใหญ่ๆ ในวันหน้าได้ก็เป็นได้


ความรู้เรื่องระบบเครื่องยนต์

ส่วนประกอบของรถยนต์

เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวสร้างพลังงานในตัว ที่ทำให้รถขับเคลื่อนที่ได้ คือกำลังขับเคลื่อนรถนั่นเอง รถยนต์ที่เราเห็นอยู่ตามท้องถนนนั้น มีกำลังขับเคลื่อนที่แตกต่างกัน ด้วยเชื้อเพลิงที่แตกต่าง ซึ่งขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตจะผลิตรถแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นให้เป็นระบบที่เหมาะกับเชื้อเพลิงหรือพลังงานตัวใด ดังต่อไปนี้

  1. รถที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน (น้ำมันเบนซิน)
    2. รถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเชล
    3. รถไฮบริด (Hybrid vehicle)
    4. รถพลังงานไฟฟ้า (EV)
    5. รถฟูเอลเซลไฮบริด (Fuel cell hybrid vehicle)

ความรู้เรื่องระบบพวงมาลัย

การหมุนพวงมาลัย เป็นการช่วยกำหนดทิศทางของรถยนต์โดยสั่งบังคับไปที่ล้อรถเพื่อให้รถไปในทิศทางที่ผู้ขับขี่ต้องการ ดังนั้น  ระบบพวงมาลัยที่ดีจึงต้องมีประสิทธิภาพในการบังคับล้อรถได้แบบเสถียรไม่มีการลื่นไถลเบี่ยงเบนจากที่ผู้บังคับต้องการ อีกทั้งไม่ทำให้ยางถูไปทางด้านข้างขณะเลี้ยว รวมไปถึงต้องทำให้เเรงกระเเทกระหว่างยางกับถนนถูกส่งผ่านไปยังพวงมาลัยน้อยที่สุด จะได้ไม่ต้องออกแรงในการบังคับพวงมาลัยมากนัก

ส่วนประกอบต่างๆ ของระบบพวงมาลัย ก็มี ตัวพวงมาลัย ขายึดเเกนพวงมาลัย เเกนพวงมาลัย หน้าเเปลนพวงมาลัย ยางข้อต่อ กระปุกเกียร์พวงมาลัย เเขนเกียร์พวงมาลัยหรือเเขนพิทเเมน คันชักคันส่งกลาง คันชักคันส่งล่าง เเละเขียนดึงกลับ ทุกชิ้นส่วนล้วนจำเป็นช่วยให้ระบบพวงมาลัยสมบูรณ์


ระบบเกียร์รถยนต์

ปัจจุบันระบบเกียร์ในตลาดรถยนต์ นิยมทั้ง 2 เเบบ คือ เกียร์กระปุก (เกียร์ธรรมดา) และเกียร์อัตโนมัติ ถ้าเป็นเมื่อก่อนจะมีเกียร์พวงมาลัยด้วย มาทำความรู้จักเกียร์ 2 แบบที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

  1. เกียร์ธรรมดา หรือที่เรียกว่าเกียร์กระปุกนั้น เป็นเกียร์รุ่นเก่าที่ระบบของเกียร์มีข้อดี คือ รถที่ใช้เกียร์แบบนี้จะสูญเสียกำลังจากเครื่องยนต์ที่ส่งไปที่ระบบเกียร์น้อย เนื่องจากใช้คลัทช์แบบแผ่นฝืดที่ส่งกำลังจากฟลายวีลมาถึงเกียร์โดยตรง มีความทนทาน ดูแลรักษารวมถึงซ่อมง่าย จึงนิยมใช้ในรถที่มีสมรรถนะสูง กำลังเครื่องยนต์มาก ดังจะเห็นว่า พวกรถแข่ง จะใช้เกียร์แบบนี้

  2. เกียร์อัตโนมัติส่วนประกอบของรถยนต์      คนขับรถรุ่นใหม่ๆ มักจะคุ้นเคยกับระบบเกียร์ออโต้แบบนี้ เพราะเกียร์จะเปลี่ยนโดยอัตโนมัติตามความเร็วรอบของเครื่องยนต์ องศาลิ้นเร่ง โดยที่น้ำหนักบรรทุกก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย การส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังระบบเกียร์ จะใช้ทอร์คคอนเวอร์เตอร์ ซึ่งมีน้ำมันเป็นตัวส่งถ่าย ข้อดีอยู่ที่ความสะดวกและง่ายของผู้ใช้ แต่ก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกัน เนื่องจากใช้ทอร์คคอนเวอร์เตอร์ จึงมีการสูญเสียกำลังจากเครื่องยนต์มากกว่าเกียร์กระปุก เพราะต้องใช้กำลังส่วนหนึ่งไปเพื่อสร้างแรงดัน กำลังที่ส่งไปจึงไม่ลงสู่พื้นอย่างเต็มที่ และถ้าใช้เครื่องยนต์ที่มีกำลังสูงมากๆ เกียร์ระบบนี้ไม่สามารถทนทานได้  ซึ่งถ้ารถกลุ่มซูเพอร์คาร์ ต้องการใช้เกียร์อัตโนมัติ มักจะใช้ระบบส่งกำลังแบบคลัทช์แผ่นแห้ง ในการควบคุมการเปลี่ยนเกียร์ด้วยระบบอัตโนมัติแทน

  3. ระบบคลัทช์ ถ้าไม่ได้สนใจรายละเอียด ก็คงเข้าใจว่า ขึ้นชื่อว่าคลัทช์รถยนต์ก็เหมือนๆ กันนั่นแหละ แต่ในความจริงคือ ระบบคลัทช์รถยนต์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปมีถึง  3 ชนิดคือ
  1. ชนิดสปริง
  2. ชนิดจานสปริง
  3. ชนิดเเรงเหวี่ยง

คลัทช์ทั้งสามชนิดนั้น มีความแตกต่างกันที่วิธีทำให้เกิดเเรงกดบนเเผ่นคลัทช์ โดยหน้าที่นั้น คลัทช์ จะปลดกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังล้อขับเคลื่อน ขณะที่มีการเปลี่ยนเกียร์หรือสตาร์ทเครื่อง ทำให้สามารถเปลี่ยนเกียร์หรือเข้าเกียร์ได้อย่างนิ่มนวลมากขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยให้เครื่องยนต์ขณะสตาร์ทสามารถเพิ่มความเร็วให้เพียงพอที่จะออกรถได้

ส่วนลักษณะการทำงานนั้น เมื่อเหยียบคลัทช์ จะมี 3 ส่วนเเยกจากกันคือ ล้อช่วยเเรง เเผ่นคลัทช์ เเละเเผ่นกดประกบ

ล้อช่วยเเรง ติดอยู่กับเพลาข้อเหวี่ยงซึ่งจะหมุนไปด้วยกัน เเผ่นคลัทช์มีเพลาชุดเดียวกับเกียร์เสียบอยู่ สามารถเลื่อนไปมาได้ เเต่เวลาหมุนก็หมุนไปด้วยกัน ส่วนเเผ่นกดประกบนั้น ช่วยกดเเผ่นคลัชให้ติดอยู่กับล้อช่วยเเรง การเหยียบคลัทช์เป็นการคลายแรงกด เพลาข้อเหวี่ยงเเละเพลาชุดเกียร์จะหมุนเป็นอิสระไม่ขึ้นเเก่กัน เเละเมื่อปล่อยคลัทช์มันก็จะหมุนไปด้วยกัน

เเผ่นคลัทช์ มีลักษณะเป็นจานโลหะมีรูตรงกลาง ทำเป็นฟันเฟืองสำหรับเสียบเพลาชุดเกียร์หน้าทั้ง 2 ข้างมีเเผ่นเสียดทาน หรือที่เรียกว่าผ้าคลัทช์อยู่ เมื่อเเผ่นกดประกบเเผ่นคลัทช์นี้ติดกับล้อช่วยเเรง จึงต้องมีเเรงกดที่มากพอ ล้อรถจึงจะไม่เกิดการลื่นไถล หากเครื่องยนต์มีเเรงบิดสูง


4.ระบบเบรกรถยนต์     เป็นระบบที่สำคัญที่สุดของรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นรถชนิดไหน เกียร์แบบใด กำลังแรงหรือไม่ ถ้าเบรกดีก็ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุได้ระดับหนึ่ง ถ้าเป็นระบบเบรกยุคเก่าก็ใช้หลักการทำงานง่ายๆ โดยการกดก้ามเบรกลงบนล้อเพื่อให้ล้อหยุดหมุน แต่ในปัจจุบัน ระบบล้อรถยนต์ไม่เหมือนในอดีต เป็นล้อยางสูบลม เเละเเล่นไปตามทางด้วยความเร็วสูง ระบบเบรก (Brake System) จึงซับซ้อนยิ่งขึ้น ด้วยหน้าที่หลักๆ นอกเหนือจากการหยุดรถปกติ ยังช่วยลดความเร็วของรถเมื่อต้องการ รวมถึงหยุดรถชั่วคราวกรณีจดอยู่ทางลาดชัน  ยุคนี้ ระบบเบรกของรถยนต์ ต้องใช้กำลังสูงถึง 600-800 เเรงม้า เพื่อทำให้รถยนต์หยุดได้ สิ่งที่เราคุ้นเคยก็คือ เวลาเหยียบเบรกแล้วรถก็หยุด หากรถวิ่งมาด้วยความเร็วสูงอาจหยุดยากกว่ารถที่วิ่งด้วยความเร็วต่ำ แต่หากเราเจาะลึกถึงระบบการทำงานของเบรกแล้วจะรู้ว่า แท้จริงแล้ว การเบรกนั้น มีการทำงานเป็นช่วงๆ ดังนี้

  1. ช่วงที่ 1 เป็นช่วงที่เท้าคนขับตอบรับการสั่งการของประสาท จึงเหยียบไปที่เบรก ช่วงนี้เรียกว่า ช่วงเวลาตอบรับ (Response Time)
  2. ช่วงที่ 2 ช่วงสร้างความดันเบรก (Pressure Build-UP Time) เวลาที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับระบบเบรก กระชั้นหรือไม่เพียงใด
  3. ช่วงที่ 3 ช่วงเวลาหน่วงให้รถหยุด เพราะเมื่อเหยียบเบรกไปแล้ว รถใช่ว่าจะจอดสนิทในทันที แต่ต้องมีช่วงเวลานี้แหละ กว่าจะหยุดสนิทได้ต้องมีเวลา ซึ่งใช้เวลาแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับอัตราหน่วงของเบรกกับสภาพถนน เพราะถ้าถนนลื่น การเบรกก็ต้องใช้เวลานานขึ้น

ส่วนประกอบของรถยนต์

5.ระบบเเอร์รถยนต์  รถยนต์ในปัจจุบันน่าจะมีแอร์กันหมดแล้ว เพราะนอกจากอากาศที่ร้อน ยังปกป้องผู้โดยสารจากมลภาวะที่เข้ามาจากภายนอกได้ สำหรับในยุคนี้คงคุ้นเคยกับเครื่องทำความเย็นเป็นอย่างดี ทั้งแอร์ในบ้าน หรือตามห้างสรรพสินค้า ที่ทำงาน ต่างก็ติดแอร์ สำหรับแอร์รถยนต์นั้น มีการทำงานง่ายๆ คือ ใช้ฟรีออน 12 เป็นตัวดูดความร้อนภายในรถ เเล้วนำไปทิ้งข้างนอกรถ อุณหภูมิภายในรถที่นิยมใช้คือ 25 ํC ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมกับร่างกายของเรา อาจปรับขึ้นลงตามอุณหภูมิภายนอกรถ


6.ตัวถังรถ  ถ้ารถจักรยานหรือมอเตอร์ไซด์ ความปลอดภัยต่ำตามที่คำกล่าวว่า “เนื้อหุ้มเหล็ก” เพราะผู้ขับขี่อยู่นอกรถ แต่รถยนต์เป็นลักษณะตรงข้ามคือ “เหล็กหุ้มเนื้อ” ตัวถังรถจึงเป็นเครื่องคุ้มกันปกป้องผู้โดยสารให้ปลอดภัยหากเกิดอุบัติเหตุ ยกเว้นการระเบิด ดังนั้น ตัวถังรถที่ดีจึงต้องมีโครงสร้างที่เเข็งเเรง มีการออกแบบเพื่อคุ้มครองผู้โดยสาร ตั้งแต่ทำจากเหล็ก และผลิตเเบบเเยกส่วนมาประกอบเป็นโครงสร้างรถ ในปัจจุบัน ตัวถังรถนิยมใช้ กล๊าสรอินฟอร์ซ พลาสติก ซึ่งทำมาจากยางโพลีเอสเตอร์หรืออีปอกซี่ ซึ่งมีคุณสมบัติไม่ละลายตัวเมื่อโดนความร้อน

ตัวโครงสร้างของตัวถังรถ นอกจากจะเเข็งเเรง รองรับน้ำหนักรถเเละเครื่องยนต์ได้แล้ว ยังต้องไม่ยุบเมื่อกระเเทกกับอะไรก็ตาม นอกจากนั้น โครงสร้างแต่ละส่วนยังแข็งแรงไม่เท่ากัน ในส่วนที่นั่งโดยสารที่ต้องคุ้มครองผู้ใช้ จะมีความแข็งแรงกว่าส่วนอื่น

ส่วนประกอบสำคัญของตัวถังรถจะมีการสร้างฐานรถเเยกชิ้นกับตัวรถ ที่เรียกว่า เเชลซีส (Chassis) ความแข็งแรงและปลอดภัยอยู่ที่จุดนี้เป็นสำคัญ เพราะถ้าเเชลซีสที่ทำด้วยท่อขนาดเล็ก โครงสร้าง  มิติ จะสามารถลดเเรงกระเเทกให้ความปลอดภัยเเก่ผู้โดยสารได้ดี


ความรู้บางเรื่องเกี่ยวกับส่วนประกอบของรถ โดยผิวเผินเหมือนรู้ไว้ประดับตัว แต่บางเรื่องเหมือนจะไม่สำคัญ แต่ถ้าไม่รู้อาจนำไปสู่ความประมาทในการใช้รถได้ ดังนั้น รู้ไว้ดีกว่าไม่หาความรู้