รู้จักองค์ประกอบของรถยนต์แต่ละคันกันดีกว่า

0
52018
องค์ประกอบของรถยนต์

องค์ประกอบของรถยนต์ แต่ละคันมีอะไรบ้าง


ถ้าทุกคนที่ใช้รถ ทำความรู้จักรถของตัวเองอย่างจริงจัง และเรียนรู้ที่จะใช้ให้ถูกต้อง ดูแลรักษาเป็น คิดว่าจะทำให้การใช้รถใช้ถนนที่เป็นส่วนรวม อยู่ในความรับผิดชอบอย่างมีจิตสำนึก เพราะจะขับหรือจะตัดสินใจอะไรบนท้องถนนจะเต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ เพราะมีความรักรถยนต์ของตัวเองและเข้าใจในความรักของผู้อื่นด้วย เมื่อคิดจะรู้จักก็ต้องเริ่มเรียนรู้จากส่วนประกอบของรถยนต์เป็นอย่างแรก

รถยนต์เเบ่งได้เป็น2 ส่วน คือ ส่วนประกอบภายใน และ ส่วนประกอบภายนอก

ส่วนประกอบภายในประกอบด้วย ระบบเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง ช่วงล่าง ไฟฟ้าเครื่องยนต์ ไฟฟ้าตัวถัง เเละส่วนประกอบภายนอก ประกอบด้วย ตัวถังรถ เเละยาง


องค์ประกอบภายในของรถยนต์

องค์ประกอบของรถยนต์

แบ่งออกเป็น 5 เรื่องใหญ่ๆ คือ 1.ระบบเครื่องยนต์ 2. ระบบส่งกำลัง 3. ช่วงล่าง 4. ไฟฟ้าเครื่องยนต์ และ 5. ไฟฟ้าตัวถัง เรามาดูรายละเอียดปลีกย่อยในแต่ละหัวข้อกัน

  1. ระบบเครื่องยนต์ตัวสร้างพลังงานในการขับเคลื่อนรถยนต์ ระบบเครื่องยนต์ที่มีในท้องตลาดแบ่งตามกำลังขับเคลื่อนได้ 5 ประเภทคือ
    1. ระบบเครื่องยนต์น้ำมันเบนซิน (แก๊สโซลีน)
    2. ระบบเครื่องยนต์น้ำมันดีเซล
      • แบ่งโดยประเภทของน้ำมัน คงเป็นระบบที่คนทั่วไปรู้จักกันดีอยู่แล้ว แม้แต่คนที่ไม่ได้มีรถเป็นของตัวเอง เราดูประเภทต่อไป
    3. รถไฮบริดจ์ (Hybrid Vehicle) เป็นรถที่มีแหล่งกำเนิดของพลังงานมากกว่า 1 แห่ง มีต้นกำเนิดมาจากความพยายามที่จะรวมข้อดีของแหล่งพลังงานและหลีกเลี่ยง หรือ ขจัดข้อเสียของแหล่งพลังงานแต่ละประเภททิ้งไป รถ Hybrid จึงมีความแตกต่างกัน เช่น บางครั้งใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากับเครื่องยนต์ประเภทเผาไหม้ภายใน บางประเภทก็ใช้เครื่องยนต์กับล้อช่วยแรง หรือ มอเตอร์ไฟฟ้ากับล้อช่วยแรง หรือ กังหันแก๊สกับล้อช่วยแรง ทุกประเภทจัดเป็นรถไฮบริดจ์ทั้งสิ้น
    4. รถพลังงานไฟฟ้า (EV) ใช้ไฟฟ้าช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนแทนน้ำมัน
    5. รถฟูเอลเซลไฮบริดจ์ (Fuel cell hybrid vehicle) เป็นนวัตกรรมล่าสุดของรถยนต์ที่ ใช้ไฮโดรเจนสร้างกระแสไฟฟ้า

  1. ระบบส่งกำลัง เป็นการถ่ายทอดการหมุนของเครื่องยนต์ไปยังล้อเพื่อให้เคลื่อนที่ได้ โดยต้องผ่านส่วนประกอบ หรืออุปกรณ์หลายชุด มีชุดคลัตช์ (Clutch), ชุดเกียร์ (Transmission), เพลาขับ (Drive shaft), ชุดเฟืองท้าย (Differential), เพลา (Axle), ล้อ (Wheel)

ในรถยนต์ ที่เป็นระบบขับเคลื่อนล้อหน้า จะมีเพลาขับต่อออกจากชุดเฟืองท้ายไปหมุนล้อโดยตรง ซึ่งในเรื่องของระบบส่งกำลังนี้ ในรถยนต์ต่างบริษัทผู้ผลิตก็อาจมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่บ้าง ทั้งที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันคือ ส่งกำลังหมุนจากเครื่องยนต์ไปที่ล้อเพื่อให้รถเคลื่อนที่ได้

วิธีทำงานของระบบส่งกำลังนั้น จะเริ่มต้นที่มีการหมุนของเครื่องยนต์ ซึ่งมีข้อเหวี่ยงเชื่อมต่อกับแกนตรงเพลารถ แกนต่อดังกล่าวยึดกับล้อช่วยแรง (Fly Wheel) พอเครื่องยนต์หมุน ล้อช่วยแรงก็หมุนไปด้วย โดยชุดคลัตช์ (Clutch) ที่ติดตั้งอยู่ในระบบ จะช่วยรับแรงหมุนนี้ ส่งไปยังเพลาคลัตช์ (Clutch shaft) เข้าไปสู่ห้องเกียร์ (Transmission) ส่วนภายในห้องเกียร์ ก็จะมีฟันเฟืองโลหะหลายขนาด ตามความเหมาะสมของความเร็วที่ต้องการใช้


  1. ช่วงล่าง เป็นระบบรองรับน้ำหนักตัวถังรถ เพื่อเพิ่มความสมดุล ระบบช่วงล่างนี้ถูกออกแบบให้รับแรงกระแทกและความสะเทือนขณะขับขี่ไปบนถนนที่ไม่ได้เรียบสม่ำเสมอ ระบบนี้ทำให้ขณะขับผู้ขับขี่สามารถควบคุมรถได้ดี เนื่องจากช่วงล่างนี้เองเป็นตัวควบคุมการขับ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยว การหยุดรถ โดยผ่านอุปกรณ์ 4 ประการต่อไปนี้

3.1 ระบบรองรับดุมล้อ การมีระบบนี้ มีประโยชน์คือ ลดแรงสะเทือนที่เกิดจากยางรถ เช่น สปริง โช้คอัพซอพเบอร์ เหล็กกันโคลง

3.2 ลูกหมากบังคับเลี้ยว ล้อด้านหน้าของรถถูกบังคับเลี้ยวด้วยระบบพวงมาลัย มี 2 แบบคือ

– แบบเฟืองขับและเฟืองสะพาน (แร็คแอนด์พีเนียน) ใช้การหมุนพวงมาลัยบังคับให้มีการเคลื่อนไปทางซ้ายหรือขวาของเฟืองสะพาน แบบนี้มีโครงไม่ชับซ้อน น้ำหนักเบา แต่มีประสิทธิภาพในการบังคับเลี้ยวได้แม่น

– แบบลูกปืนหมุนวน ระบบนี้ชับซ้อนกว่าแบบเฟือง เพราะมีลูกบอลระหว่างเพลาตัวหนอนและเพลาขวางอยู่จำนวนมาก

3.3 ระบบเบรกชลอหรือหยุดการเคลื่อนที่ของรถ ทั่วไปมีเบรก 2 ประเภท คือ

– เบรกเท้า มักใช้ดิสก์เบรกกับล้อหน้า ส่วนล้อหลังอาจเป็นดิสก์เบรกหรือดรัมเบรก ส่วนประกอบมีแป้นเหยียบ หม้อลม แม่ปั๊ม วาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรก ดิสก์เบรก ดรัมเบรก

– เบรกมือ เป็นกลไกเบรกเพื่อล็อกล้อหลัง มักใช้กันรถไหลเวลาจอดในที่ไม่เสมอ ป้องกันไปชนรถคันอื่น จะต้องมีการปรับตั้งก้านดึงเบรกมืออยู่เสมอ

องค์ประกอบของรถยนต์


 

  1. ไฟฟ้าเครื่องยนต์ ในที่นี้หมายถึงระบบไฟฟ้าที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์เท่านั้น ซึ่งมีตั้งแต่ไฟฟ้าที่ใช้ในระบบสตาร์ทเครื่องยนต์ที่ทำหน้าที่หมุนเครื่องยนต์ และรักษาการทำงานของเครื่องยนต์ ระบบไฟชาร์ทซึ่งจ่ายไฟให้แบตเตอรี่ เพื่อให้แบตเตอรี่จ่ายไฟไปที่ชิ้นส่วนที่ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ระบบจุดระเบิดทำการจุดส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ เพื่อให้เกิดแรงผลักดันในเสื้อสูบ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ตลอดจนชิ้นส่วนอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการสตาร์ทเครื่องยนต์และช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้ราบรื่น

หน้าที่ของชิ้นส่วนประกอบในระบบไฟฟ้า มีดังต่อไปนี้

  1.  แบตเตอรี่รถยนต์จ่ายกระแสไฟแรงต่ำไปยังคอยล์จุดระเบิด ทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนไฟฟ้าต่างๆในรถ
  2. มอเตอร์สตาร์ท (ระบบสตาร์ท) เป็นระบบเพื่อให้สตาร์ทเครื่องยนต์ได้
  3. อัลเทอร์เนเตอร์(ระบบไฟชาร์ท) เป็นระบบจ่ายไฟฟ้าเพื่อใช้ในรถ รวมถึงในการชาร์จแบตเตอรี่ด้วย
  4. คอยล์จุดระเบิด (ระบบจุดระเบิด) คือระบบที่จุดระเบิดส่วนผสมเชื้อเพลิงกับอากาศ
  5. สวิตช์จุดระเบิด สวิตช์หลักของรถ
  6. ไฟเตือนไฟชาร์จ คอยเตือนเวลาชาร์จไฟไม่ได้
  7. เซ็นเชอร์ต่างๆ ตรวจจับอุณหภูมิน้ำ หรือความเร็วเครื่องยนต์ส่งไปยังECU
  8. ไฟฟ้าตัวถัง  ส่วนประกอบของไฟฟ้าตัวถัง ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวถังรถยนต์ ซึ่งมีหลายอย่าง เช่น สวิตช์และรีเลย์ ระบบไฟและหลอดไฟส่องสว่าง มาตรวัดรวมและเกจต่างๆ ที่ปัดน้ำฝนและน้ำล้างกระจก ระบบปรับอากาศ ตัวถังรถ เป็นต้น

องค์ประกอบภายนอกของรถยนต์

ประกอบด้วยส่วนของตัวถังรถและยางล้อรถ

  1. ตัวถังรถ เป็นส่วนที่ช่วยปกป้องผู้ขับและผู้โดยสารที่นั่งอยู่ข้างใน จึงต้องมีโครงสร้างที่เเข็งเเรง ไม่ยุบง่ายเมื่อได้รับเเรงกระเเทก

โดยทั่วไปตัวถังรถจะถูกสร้างแบบแยกส่วน ส่วนกลางซึ่งปกป้องที่นั่งจะเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงที่สุดเพื่อสร้างความปลอดภัย ส่วนอื่นนอกจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนหน้าหรือหลังคา จะแข็งแรงน้อยกว่า ถ้าจะไล่เรียงชิ้นส่วนประกอบภายนอก ก็มีมากมายด้วยกัน ดังนี้

  1. กันชน 2. กระจังหน้า 3 ฝากระโปรงรถ 4 กระจกบังลมหน้า 5 เสาหน้า เสาเก๋งหน้า 6 บานเลื่อนหลังคา 8. ขอบประตู 9 เสากลาง 10 กระจกประตู 11 มือเปิดประตูด้านนอก 12 กระจกมองข้าง 13 แผงประตู 14 บังโคลนหน้ารถ 15 คิ้วด้านข้าง 16 กันโคลน 17 กระจกหลัง 18 สปอยเลอร์หลัง 19 ฝากระโปรงท้าย 20 ฝาปิดถังน้ำมันเชื้อเพลิง  21 บังโคลนหลัง  22 เสาหลัง เสาเก๋งหลัง
  2. ยางล้อรถ ประกอบด้วย ส่วนของยางและกระทะล้อ

สิ่งที่ถูกต้องคือ ผู้ใช้รถควรจะได้รู้จักรถยนต์ของตัวเองเป็นอย่างดี รวมถึงดูแลบำรุงรักษาทุกชิ้นส่วนอย่างถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยขณะใช้และรักษาอายุการใช้งานให้ยาวนานสมกับราคาที่ซื้อมา