ฟิล์มติดรถยนต์ – ฟิล์มกรองแสง เลือกใช้อย่างรู้จักดี
แดดอย่างบ้านเรา การติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยทั่วๆ ไปเราก็พูดกันแบบติดปากว่าติดฟิล์มกรองแสง รู้คร่าวๆ ว่ามีเรื่องความทึบของฟิล์ม แต่แท้ที่จริงแล้ว การจะเลือก ฟิล์มติดรถยนต์ – ฟิล์มกรองแสง รถยนต์สักครั้ง ต้องรู้จักและเลือกรายละเอียด ตลอดจนร้านที่จะติดให้อย่างมาก เพราะต้องการทั้งคุณภาพและราคาที่สมเหตุสมผล หากรู้จริงก็ย่อมได้ของดีและราคาเหมาะกับคุณภาพ เพราะฉะนั้น เรามารู้จักฟิล์มกรองแสงรถยนต์ เพื่อการเลือกใช้ให้เหมาะสม
เว้นแต่จะซื้อรถใหม่ ส่วนใหญ่จะมีติดมากับรถ นัยว่าเป็นของแถม แต่ถ้าคุณเลือกที่จะติดเองภายหลังหรือเปลี่ยน ก็ลองดูข้อมูลต่อไปนี้ก่อน
คุณสมบัติของฟิล์มกรองแสงรถยนต์
โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 วัตถุประสงค์ อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
- กรองแสง โดยอาศัยความเข้มของฟิล์มที่ทำให้แสงลอดผ่านเข้ามาสู่ตัวรถได้น้อยลง
- กรองรังสีและความร้อน จุดนี้เป็นคุณสมบัติพิเศษของฟิล์มกรองแสงที่ผลิตขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง ซึ่งฟิล์มสีอ่อนอาจกรองรังสีและความร้อนได้ดีกว่าฟิล์มสีเข้มก็ได้
แสงสว่างและรังสีจากแสงอาทิตย์
ในแสงอาทิตย์นั้น นอกเหนือจากความสว่างที่ช่วยให้มองเห็นได้แล้ว ในแสงอาทิตย์ยังประกอบด้วยรังสีอินฟาเรด และรังสีอุลต้าไวโอเลต ซึ่งอย่างนั้นเราจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีคือ รังสี UV ซึ่งอัตราส่วนระหว่างรังสีอินฟาเรด: รังสีอุลตร้าไวโอเลต: แสงสว่างนั้น อยู่ในอัตรา 53:3:44
ซึ่งความร้อนนั้นเกิดจากรังสีอินฟราเรดและแสงสว่างรวมกัน เพราะฉะนั้น ถ้าฟิล์มกรองแสงระบุว่า สามารถลดพลังงานจากรังสีอินฟาเรดได้สูง ไม่ได้หมายความว่าจะลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ ได้สูงไปด้วย เวลาติดฟิล์มกรองแสงอย่าไปเพลินกับคำเชิญชวนว่า กันรังสีอินฟาเรดได้มาก เพราะว่ากันรังสีได้มากก็จริงแต่ประสิทธิภาพกันความร้อนนั้นไม่ได้มากตามไปด้วย เพราะความร้อนไม่ได้เกิดจากรังสีอินฟาเรด 100% เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งเท่านั้น เวลาจะติดฟิล์มจึงต้องเจาะจงเลือกลงไปเลยว่า ต้องมีคุณสมบัติทั้งป้องกันความร้อนและป้องกันรังสี จึงจะครบตามที่ต้องการ งานโฆษณาก็คืองาน โฆษณา แต่ไม่สามารถทำอะไรเราได้ หากเรามีความรู้จริงๆอีกอย่างหนึ่ง เมืองร้อนอย่างประเทศเรา แสงแดดจ้าจัด ต้องเลือกฟิล์มที่ไม่สะท้อนแสงมากเกินไป ด้วย
หน้าที่และคุณสมบัติของฟิล์มกรองแสงที่ดี
ลักษณะของฟิล์มกรองแสงที่ดีนั้น ต้องบางเรียบ ไร้รอยย่น สามารถแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับกระจกรถยนต์ได้ ส่วนใหญ่จึงมักทำจากโพลีเอสเตอร์ที่มีความเหนียว และฟิล์มกรองแสงที่ดีจะต้องสามารถลดความร้อน และรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้เป็นอย่างดี
ประเภทของฟิล์มกรองแสง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ฟิล์มย้อมสี ประเภทนี้ลดแสงสว่างเท่านั้น ไม่ได้ช่วยป้องกันรังสีที่มากับแสงแดดเลย อีกทั้งไม่ได้ช่วยเรื่องลดความร้อนเลย ฟิล์มประเภทนี้ นอกจากไม่ค่อยเอื้อต่อแดดเมืองไทยแล้ว เมื่อใช้ๆ ไปนานเข้า จะมีการเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงด้วย ซึ่งทำให้เห็นสีภายนอกผิดเพี้ยนจากความจริง ราคาที่ถูกประมาณ 800-1,500 บาท/คัน และการใช้งานประมาณ 3-5 ปี แต่เมื่อเทียบกับคุณสมบัติแล้ว ยังไงก็ไม่ค่อยคุ้มกับเงินที่เสียไป
- ฟิล์มกรองแสงลดความร้อน หรือ ฟิล์มเคลือบโลหะ ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยลดความร้อนได้ดีกว่าแบบแรก และช่วยป้องกันรังสีจากแสงแดดได้ด้วย ทำให้เป็นที่ต้องการสำหรับเจ้าของรถมากกว่า ผู้ผลิตจึงได้ผลิตออกมาจำหน่ายอย่างหลายหลากเพื่อให้มีตัวเลือก เรามาลองดูกันว่า แบบไหนน่าจะดีกว่ากัน
2.1 ฟิล์มปรอท, ฟิล์มเคลือบโลหะ และฟิล์มลดความร้อน ฟิล์มประเภทนี้มีประสิทธิภาพในการลดความร้อนได้อยู่ในช่วง 35-90% เนื้อฟิล์มจะเป็นสีสะท้อนแสงคล้ายกระจกเงา จุดเด่นคือราคาถูกหน่อย คือ 2,000-5,000 บาท/คัน และใช้ได้นานถึง 3-7 ปี แต่ข้อเสียก็คือ ค่อนข้างอันตรายในการขับเพราะการมองผ่ากระจกหลังไม่ดี
2.2 ฟิล์มอินฟราเรด (Infrared Film) ประเภทนี้เป็นฟิล์มชนิดที่เคลือบสารพิเศษในการไปตัดรังสีอินฟราเรด ข้อดีคือ กันความร้อนได้ดี แต่ราคาก็สูงตามคุณภาพเหมือนกัน
2.3 ฟิล์มนิรภัย มีทั้งแบบลดความร้อน และไม่ลดความร้อน ฟิล์มประเภทนี้จะช่วยยึดเกาะแผ่นกระจกให้คงรูปเดิมมากที่สุด ซึ่งมีจุดเด่นคือ ถึงแม้กระจกจะถูกแรงกระแทก และแตกเป็นเม็ดละเอียด ก็ยังได้เนื้อฟิล์มช่วยซับแรง ฟิล์มประเภทนี้ เมื่อก่อนนิยมใช้ในงานอาคารสูง แต่ปัจจุบันนิยมนำมาใช้กับรถยนต์ เพราะปลอดภัยตอนกระจกแตกนั่นเอง
2.4 ฟิล์มใสประเภทนาโน ฟิล์มประเภทนี้ แสงส่องผ่านได้มากกว่า 60% และไม่มีเงา แต่มีจุดเด่นที่สามารถลดความร้อนได้สูง และแน่นอน ราคาสูง
วิธีเลือกซื้อฟิล์มกรองแสง
นอกจากจะเลือกประเภทฟิล์มที่ต้องการตามงบประมาณแล้ว ยังต้องดูคุณสมบัติของกาวด้วย ซึ่งกาวที่ดีต้องมีความบางใสและเหนียว ที่สำคัญต้องทนทานต่อสภาวะความร้อนเย็นของกระจก ไม่เกิดการพอง ร่อน เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
เลือกฟิล์มที่มีสารเคลือบกันรอยขีดข่วน ซึ่งจะทำให้ฟิล์มมีอายุการใช้งานได้ยาวนานและยังคงความสวยไว้ได้ตลอดอายุการใช้งานนั่นเอง