คาร์บูเรเตอร์รถยนต์,หัวเทียนและปกิณกะเกี่ยวกับเครื่องยนต์
ในบทความนี้จะได้กล่าวถึงอุปกรณ์เกี่ยวกับรถยนต์หลายเรื่อง ตั้งแต่คาร์บูเรเตอร์ หัวเทียน อัตราส่วนกำลังอัดและการส่งเชื้อเพลิงเเละการจุดระเบิด ซึ่งเป็นรายละเอียดแบบปกิณณกะ รู้ไว้ไม่เสียหลาย
คาร์บูเรเตอร์
คาร์บูเรเตอร์ เป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในเครื่องยนต์ที่จำเป็น ในรถยนต์ที่ใช้เเก๊สโซลีน (เบนซิน) ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยให้การจ่ายน้ำมันผสมกับอากาศเป็นไอเป็นไปอย่างถูกต้อง เพื่อให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดง่าย ขณะขับขี่สามารถเร่งเครื่องได้ทุกขณะ ทำให้ขับขี่ได้สะดวก คาร์บูเรเตอร์นี้ ได้ชื่อว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญในระบบจุดระเบิดของเครื่องยนต์เเก๊สโซลีน
แท้จริงแล้ว ระบบที่ใช้ในคาร์บูเรเตอร์ยังแบ่งออกได้เป็นอีกหลายระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบลูกลอย ระบบเดินเบา ระบบรอบสูง ระบบกำลัง/ระบบช่วย ระบบเร่ง เป็นต้น ซึ่งมีความแตกต่างกันในเรื่องของวิธีการทำงาน แต่วัตถุประสงค์เหมือนกัน
หัวเทียน
เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญที่มีส่วนช่วยให้ระบบจุดระเบิดทำงานได้อย่างถูกต้อง ทั้งตำเเหน่งเเละเวลา การเลือกใช้หัวเทียนจึงมีความสำคัญ ต้องเลือกให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ของรถแต่ละรุ่น แต่ละประเภท
อัตราส่วนกำลังอัด
ปกิณณกะความรู้เกี่ยวกับรถยนต์อีกเรื่องก็คือเรื่องนี้แหละ อัตราส่วนกำลังอัด เป็น อัตราส่วนปริมาตรภายในกระบอกสูบ ขณะที่ลูกสูบอยู่ที่ตำเเหน่งศูนย์ตายล่าง (BDC) กับปริมาตรภายในกระบอกสูบ ขณะที่ลูกสูบอยู่ที่ตำเเหน่งตายบน (TDC) อัตราส่วนกำลังอัดในเครื่องยนต์ต่างประเภทจะต่างกัน กล่าวคือ ในรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซลีน (เครื่องเบนซิน) จะเป็น 8 : 1 ส่วนในรถที่ใช้เครื่องดีเซลจะเป็นอัตรา 16 : 1
ความสำคัญของอัตราส่วนกำลังอัดสูบนั้น ยิ่งมีสูงก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นในเครื่องยนต์ดีเซลซึ่งมีกำลังอัดสูง จึงมีอันตรายเพราะอาจมีการจุดระเบิดตัวเองได้ ดังนั้น ผู้ผลิตจึงมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์เเก๊สโซลีนนี้ให้จุดติดในอุณหภูมิที่สูงขึ้น เพื่อป้องกันอันตรายดังกล่าว เพราะน้ำมันพวกนี้จะมีอ๊อกเทนนัมเบอร์สูง คือ เป็นซุปเปอร์อ๊อกเทนนัมเบอร์
โดยทั่วไปเเล้ว ค่าอ๊อกเทนสูงสุดของน้ำมันพวกนี้จะอยู่ที่ 100 เเต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาค่าอ๊อกเทนนัมเบอร์ของน้ำมันดีเซลให้สูงกว่า 100 โดยการเติมสารประกอบของตะกั่วประเภท เตทตราเอทธิลลีด (Tetra ethyl leadc TEL) ลงไป สารตะกั่วพวกนี้มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ยิ่งเติมไปในปริมาณมากก็ยิ่งอันตรายมาก เนื่องจากสารประกอบของตะกั่วนี้ จะออกมาพร้อมกับไอเสียรถยนต์
การส่งเชื้อเพลิงเเละการจุดระเบิด
รถยนต์ที่ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงที่แตกต่างกัน จะมีระบบเรื่องการจุดระเบิดและการส่งเชื้อเพลิงให้เครื่องยนต์ทำงานแตกต่างกัน ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะรถที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีนและเครื่องยนต์ดีเซล มีการทำงานส่งเชื้อเพลิง ดังนี้
- ในเครื่องยนต์เเก๊สโซลีน การผสมกันระหว่างน้ำมันเชื้อเพลิงและอากาศจะเกิดขึ้นนอกกระบอกสูบ แต่จะเกิดในคาร์บูเรเตอร์เเละในท่อไอดี โดยที่เมื่อน้ำมันเชื้อเพลิงผสมกับอากาศแล้วจะถูกดูดเข้ากระบอกสูบในจังหวะดูด เเละในจังหวะอัดก็จะถูกอัด การเกิดสภาวะเช่นนั้นทำให้เกิดจุดระเบิดเเละเผาไหม้ที่อาศัยประกายไฟจากหัวเทียน
- ในเครื่องยนต์ดีเซล มีความต่างจากในเครื่องยนต์แก๊สโซลีนอยู่บ้าง กล่าวคือ มีเพียงอากาศอย่างเดียวเท่านั้นที่ถูกดูดหรืออัดเข้าไปในกระบอกสูบ พอถึงจังหวะอัด อากาศภายในกระบอกสูบก็จะถูกอัดจนทำให้เกิดแรงดันอากาศเเละมีอุณหภูมิสูงขึ้น เป็นจังหวะเดียวกับที่หัวฉีดจะฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปในกระบอกสูบ น้ำมันเชื้อเพลิงเหล่านั้นจะผสมกับอากาศที่มีอุณหภูมิสูงในกระบอกสูบทำให้เกิดการจุดระเบิดและเผาไหม้
นั่นคือ ความต่างที่เด่นชัดระหว่างเครื่องยนต์แก๊สโซลีนและเครื่องยนต์ดีเซล อย่างแรกน้ำมันเชื้อเพลิงผสมกับอากาศภายนอกกระบอกสูบ อย่างหลังเชื้อเพลิงเข้าไปผสมกับอากาศภายในกระบอกสูบเพราะเหตุนี้ ในเครื่องยนต์ดีเซลจึงไม่มีคาร์บูเรเตอร์เเละหัวเทียนสำหรับจุดระเบิดเหมือนในเครื่องยนต์แก๊สโซลีน เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้ มีเพียงหัวฉีดสำหรับฉีดน้ำมันให้เป็นฝอยโดยอาศัยเเรงดันจากปั๊มเท่านั้น