การรันอินรถยนต์ ทำอย่างไรให้ถูกวิธี
การผลิตรถยนต์นั้น โรงงานจะผลิตชิ้นส่วนออกมาเป็นชิ้นๆ แล้วจึงมาประกอบให้เป็นคันรถ เนื่องจากมีการประกอบ จึงอาจมีเหตุที่ทำให้รถยนต์แต่ละคันมีความยืดหยุ่นหรือฝืดบ้าง เนื่องจากหลายระบบของรถยนต์ มีข้อต่อ มีการขยับเพื่อการขับเคลื่อน อย่าคิดว่า รถที่ออกจากโรงงานมีการรันอินมาอย่างดีแล้ว เพราะหลายระบบของรถ เช่น เกียร์ เบรค กันกระเทือน การรันอินรถยนต์ จะควบคู่กับการใช้งานจริง ซึ่งระบบเหล่านั้น อาจปรากฏตัวในช่วงที่มีการใช้งานไปได้แล้ว 500-3000 กิโลเมตร
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นก็เช่น พวงมาลัยฝืด เข้าเกียร์ยาก เบรกแข็ง รถกินน้ำมันมาก เป็นต้น จึงต้องมีการทดสอบและปรับสมดุลของชิ้นส่วนเหล่านั้น เสมือนเป็นการกระตุ้นให้ของใหม่ได้เข้าที่ ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องคือ จะทำให้รถมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
การรันอินรถมีรายละเอียดที่พึงปฏิบัติดังนี้
การรันอินระบบเครื่องยนต์
- การออกรถในช่วงเช้า (รถจอดมาเกิน 6 ชั่วโมง) หลังสตาร์ทรถ ควรรอสักอึดใจ เพื่อให้น้ำมันหล่อลื่นรถได้ทำงานเสียก่อน จึงค่อยเหยียบคันเร่ง และให้รถเคลื่อนที่ไปสัก 2-3 นาทีก่อน จึงค่อยเปิดแอร์ ไม่ควรเปิดแอร์ในทันทีที่สตาร์ทรถ
- การเร่งเครื่องอยู่กับที่ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ส่วนในการขับก็เช่นกัน ไม่ควรใช้รอบเดินเครื่องสูงกว่า 4,000 รอบต่อวินาที
- เวลาออกรถ ต้องค่อยๆ เหยีบบคันเร่งเพื่อให้รถค่อยๆ เคลื่อนออก ไม่ใช่ออกแบบพุ่งทะยาน
- เมื่อต้องเดินทางไกล ควรเปลี่ยนความเร็วบ่อยๆ ประมาณ 5 นาทีครั้ง และระดับความเร็วรอบในการเปลี่ยนนั้น ไม่ควรต่างกันเกิน 4000 รอบ
- การขับรถเป็นระยะทางไกลๆ เมื่อถึงที่หมาย ไม่ควรรีบดับเครื่องในทันทีที่จอดรถ หรือเร่งเครื่องก่อนดับเครื่อง สิ่งที่ควรทำคือ ปล่อยให้เครื่องเดินเบาสัก 10-15 วินาทีก่อน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้น้ำมันที่ค้างอยู่ตรงหัวลูกกระบอกสูบไปชะล้างเอาน้ำมันหล่อลื่นที่แหวนลูกสูบออก เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจะทำให้เกิดความเสียหายได้
- อย่าเพิ่งรีบเติมหัวเชื้อหรือน้ำมันอื่นๆลงในเครื่องยนต์ เพราะเครื่องยนต์ช่วงนี้ยังต้องการให้ชิ้นส่วนต่างๆได้เสียดสีกัน ความตั้งใจดีที่ขาดความรู้จริงอาจเป็นเหตุให้วัสดุอุปกรณ์เสียหายได้
- ต้องเช็คระดับน้ำมันเครื่อง และน้ำในหม้อน้ำ อย่างสม่ำเสมอทุกสัปดาห์
การรันอินระบบคลัช (กรณีรถเกียร์ธรรมดา)
- ช่วงที่ไม่ได้ใช้คลัช ให้ยกเท้าจากคันคลัช
- เมื่อต้องการจอดรถ ให้ยกเท้าออกจากคลัช แล้วใช้วิธีเข้าเกียร์ว่างแทนการเหยียบคลัช์แช่ไว้
- อย่าใช้คลัชแทนเบรคในการชะลอรถ ยกเว้นกรณีที่ขับรถลงเนินหรือเขาเท่านั้น
- ห้ามลากรถที่หนักกว่าน้ำหนักรถที่ใช้ความจริง หากรถยังใหม่ไม่ควรใช้ลากรถอื่น
การรันอินระบบเฟืองท้าย และเกียร์
- ห้ามเติมหัวเชื้อน้ำมันใดๆ ลงในห้องเกียร์ในช่วงรันอินรถ
- การเปลี่ยนเกียร์ จากเดินหน้าเป็นถอยหลัง หรือถอยหลังเป็นเดินหน้า ต้องรอให้รถหยุดสนิทเสียก่อนจึงเปลี่ยนเกียร์
- ให้เหยีบคลัชจนสุด แล้วรอให้รถหยุดสนิทก่อน จึงเข้าเกียร์ถอยหลัง
- การขับทางไกลควรพักรถทุก 2 ชั่วโมง ประมาณครั้งละ 5 นาที เพื่อลดความร้อนของห้องเกียร์และเฟืองท้าย
- ถ้ารถของคุณเป็นเกียร์อัตโนมัติ เมื่อต้องการเปลี่ยนเกียร์ ให้เหยียบเบรกให้รถหยุดสนิทก่อน ไม่ว่าจะเปลี่ยนเป็นเดินหน้า ถอยหลัง หรือเกียร์ว่าง ถ้ารถยังเคลื่อนที่อยู่ อย่าเพิ่งเข้าเกียร์ว่าง เพราะจะทำให้ระบบเกียร์เสียหาย
การรันอินระบบเบรค
- อย่าปั๊มเบรค
- 2. อย่าเหยียบเบรคแบบต่อเนื่องยาวๆ โดยเฉพาะเวลาลงจากทางชันแบบเขา ซึ่งคนขับรถมักอดไม่ได้ที่จะเหยียบเบรครัวๆ ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะจะทำให้จานเบรคร้อนและขยายตัว หย่อนประสิทธิภาพ
- ควรใช้เบรคมืออย่างสม่ำเสมอเพื่อปรับระยะของผ้าเบรคไปในตัว
- การปลดเบรก ให้ใช้วิธีกดปุ่มที่ปลาย เฟืองเบรกจะได้ไม่สึกเร็ว
- อย่าลืมเช็คระดับน้ำมันเบรคสม่ำเสมอทุกอาทิตย์
การรันอินระบบพวงมาลัย และกันสะเทือน
ในเรื่องของพวงมาลัย มีบางเรื่องที่เราอาจมองข้ามเห็นเป็นเรื่องธรรมดา แต่ความจริงแล้วเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความเสียหายเช่น มีการหมุนพวงมาลัยเล่นทั้งที่ไม่ได้ขับรถ ซึ่งไม่ควรทำ
- เวลาต้องขับรถในทางที่ไม่เรียบ ไม่ควรใช้ความเร็วเกิน 40 กม./ชั่วโมง
- อย่าบรรทุกของเกินพิกัดที่กำหนดของรถที่ใช้อยู่
- 3. หมั่นตรวจลมยางทุกๆ 2 สัปดาห์ เพราะมีผลในเรื่องการสะเทือน
การรันอินระบบไฟฟ้า
- ตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าสม่ำเสมอ เช่น ระบบกระจก
- เช็คไฟเตือน และเกจ์วัดต่างๆ สม่ำเสมอ
การรันอินตัวถังและภายใน
- ควรเลือกที่จอดรถ โดยเฉพาะการจอดใต้ต้นไม้ใหญ่ บางทีอาจทำให้สีรถถูกทำลายจากยางไม้ หรือนกถ่ายรดรถ
- เปิดปิดประตูเบาๆ อย่าใช้วิธีกระแทกปิด
- เมื่อล้างรถเสร็จใหม่ๆ อย่าจอดทิ้งไว้ ควรให้รถวิ่งเพื่อไม่ให้น้ำขังตามซอกมุม
แม้ว่ารถใหม่จะมีการรันอินจากโรงงานผลิตมาแล้วบางส่วน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่อาจละเลยได้ หากคุณต้องการใช้รถให้เต็มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานให้ได้นานที่สุด จึงควรศึกษาและปฏิบัติให้ถูกต้อง